คำพื้นฐานกับนิทานพยัญชนะไทย ช.ช้าง (พยัญชนะตัวที่ ๑๐)

ชายชาวเขา


ชายชาวเขาชอบขี่ช้างไปชายน้ำแต่เช้า

ชายชาวเขาแช่น้ำอย่างชุ่มฉ่ำ ช้างแช่มชื่นที่ได้เล่นน้ำ

ชาวนาถือชมพู่เดินเชื่องช้าผ่านชายน้ำ

ชาว
นาชายตาดูชาวเขาแช่น้ำ

จึงเดินชนชั้นวางของที่มีช้อม ชาม และชุดเสื้อผ้าของชาวเขา
ชั้นวางของพัง ช้อม ชามและชุดเสื้อผ้าหล่นลงที่พื้น

ชาวนารีบขอโทษชาวเขา ชาวเขาไม่โกรธชาวนา
และบอกให้ชาวนารีบเก็บช้อน ชาม และชุดเสื้อผ้าไว้ในถุงผ้า

ชาวนาชื่นชมชาวเขาที่ใจดีไม่โกรธจึงแบ่งชมพู่ให้ชาวเขา

ชาวเขาวางชมพู่ไว้ในชาม และแบ่งชมพู่ให้ช้างกิน

ช้างกินชมพู่ ชาวนากับชาวเขาก็กินชมพู่

ค่ำแล้วชาวเขาจึงชวนชาวนาขี่ช้างกลับบ้านด้วยกัน

  • คำพื้นฐานหมวด ช
ช้าง ชาวนา ชมพู่ ช้อน ชาม ชุด ชอบ ช้อน

  • คำที่ใช้ในนิทานตัว ช
ช้าง ชาวนา ชมพู่ ช้อน ชาม ชุด ชอบ ชาย ชาวเขา ชายน้ำ เช้า แช่น้ำ ชุ่มฉ่ำ แช่มชื่น เชื่องช้า ชายตา ชน ชั้นวางของ ชื่นชม ชวน

  • ออกเสียง ชอ-ออ-ชอ = ชอ

พยัญชนะอื่นๆที่ออกเสียง ชอ ได้แก่

ฌ.เฌอ(พยัญชนะตัวที่ ๑๒) คำที่ใช้ในภาษาไทย : เฌอ เฌอเอม ฌาณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น