เปิดประตูท่องทุ่ง

เปิดประตูท่องทุ่ง...

บัญชีคำพื้นฐานชั้นเด็กเล็ก มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๔๒ คำ จำแนกเป็นคำนาม จำนวน ๑๗๕ คำ จัดประเภทของคำได้ ๑๒ หมวด คือ หมวดที่เกี่ยวกับตำแหน่ง อาชีพ มี ๑๕ คำ เครือญาติมี ๑๔ คำ อวัยวะมี ๒๒ คำ เครื่องแต่งกาย - เครื่องนอน มี ๑๑ คำ ดอกไม้ มี คำ ผลไม้มี ๑๘ คำ ผัก มี ๑o คำ อาหาร มี ๑๒ คำ สัตว์ มี ๒๕ คำ สิ่งของ มี ๒๗ คำ พาหนะ มี ๔ คำ และสถานที่ มี ๑๒ คำ คำกริยา คำเชื่อม และคำอื่น ๆ อีก ๖๑ คำ

บัญชีคำพื้นฐานในชั้นเด็กเล็ก หรือบัญชีคำคุ้นตา ซึ่งมีจำนวนคำทั้งสิ้น ๒๔๒ คำ นั้นเป็นคำที่เด็กเล็กใช้พูดในชีวิตประจำวันที่มีความถี่สูง การนำคำคุ้นตาไปสอนอ่านควรคัดเลือกคำที่ใช้บ่อยในท้องถิ่น และในสถานการณ์ต่าง ๆ การกำหนดจำนวนคำไม่ควรมากเกินไป ควรอยู่ระหว่าง oo – ๑๕o คำ สำหรับการสอนอ่านคำคุ้นตานี้ ไม่จำเป็นต้องให้นักเรียนอ่านแบบแจกลูกและสะกดคำหรือผัน ให้อ่านเป็นคำและเข้าใจความหมายของคำนั้นๆ กกกเล็ก หรอบญชคคนต ซงมจนวนคงสน ๒๔๒ ค นน เปนคทเดกเกเลก

คำพื้นฐานกับนิทานพยัญชนะไทย น.หนู (พยัญชนะตัวที่ ๒๕)


น้องนุ่น



น้องนุ่นตื่นนอนแต่เช้า อาบน้ำล้างหน้าแปรงฟันและแต่งตัวไปโรงเรียน



น้าขับรถมอเตอร์ไซด์ไปส่งน้องนุ่น น้องนุ่นนั่งข้างหลังกอดเอวน้าไว้แน่น

น้าและน้องนุ่นขับรถผ่านทุ่งนา ในนามีน้ำ ชาวนากำลังดำนา



นกกาก็ออกมาโบยบินหากินปลาในนาข้าวของชาวนา



น้องนุ่นดีใจที่เห็นนกสีเขียว จึงเอานิ้วชี้ไปที่นก

นั่นนกอะไรคะ น้องนุ่นถามน้า นกแก้วจ๊ะ น้าบอกนุ่น



นกแก้วขนนุ่ม บินผ่านน้าและน้องนุ่นไปยังหนองน้ำ นุ่นโบกมือให้นกแก้ว



เมื่อถึงโรงเรียน เห็นนักเรียนนั่งอ่านหนังสืออยู่ใต้ต้นน้อยหน่า



น้องนุ่นสะพายกระเป๋าและถือกล่องนมเดินเข้าห้องเรียน

ในห้องเรียนของน้องนุ่นมีภาพในหลวงติดอยู่ น้องนุ่นไหว้ในหลวงและบอกน้าว่า หนูรักในหลวงค่ะ น้าก็รักในหลวงเหมือนน้องนุ่น



น้องนุ่นเก็บกระเป๋า และนำนมไปวางที่โต๊ะคุณครู

โต๊ะคุณครูมีขวดน้ำปลา และถุงน้ำตาล น้องนุ่นวางนมใกล้ถุงน้ำตาล



คุณครูเดินมา น้องนุ่นและน้าสวัสดีคุณครู คุณครูสวัสดีน้าและน้องนุ่น



น้ากลับบ้าน น้องนุ่นเรียนหนังสือที่โรงเรียน



ตอนเย็นน้ามารับน้องนุ่นกลับบ้าน



  • คำพื้นฐานหมวด

น้อง นก หนู(ส) หนังสือ น้ำ นอน นักเรียน นั่ง ในหลวง นกแก้ว นม น้ำตาล น้ำปลา น้า นา หน้า น้อยหน่า นิ้ว นั่น


  • คำที่ใช้ในนิทานตัว

น้อง นก หนู(ส) หนังสือ น้ำ นอน นักเรียน นั่ง ในหลวง นกแก้ว นม น้ำตาล น้ำปลา น้า นา หน้า น้อยหน่า นิ้ว นั่น นุ่น แน่น ดำนา ชาวนา นุ่ม หนองน้ำ


  • ออกเสียง นอ-ออ-นอ = นอ

พยัญชนะอื่นๆที่ออกเสียง นอ ได้แก่

ณ.เณร (พยัญชนะตัวที่ ๑๙) คำที่ใช้ในภาษาไทย : เณร ณรงค์ ญาณ คำนวณ บัณฑิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น